วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์


💖สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์💖 

เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ด้านการสังเกตและการจำแนกประเภทโดยใช้กิจกรรมการทดลอง

โดย

นางสาววารุณี  กองสมัคร

ที่มาpfile:///C:/Users/user/Downloads/วิจัยเรียนรู้%20-%20am.df

       เด็กปฐมวัย คือ เด็กที่มีอายุตั้งแต่ปฏิสนธิถึง 6 ปีบริบูรณ์ การอบรมและเลี้ยง ดูแก่เด็กปฐมวัยมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเด็กวัยนี้ต้องการการเรียนรู้ในสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้าน จากบิดามารดาคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดพัฒนาการที่เป็นรากฐานของบุคลิกภาพ อุปนิสัยและการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจ สมอง สติปัญญา ความสามารถเพราะเด็กในช่วงตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์แม่จน ถึง 4 ปี ระบบประสาทและ สมองจะเจริญเติบโตในอัตราสูงสุด (ประมาณ 80 % ของผู้ใหญ่) การอบรมปลูกฝัง สร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านให้แก่เด็กปฐมวัยได้เจริญ เติบโตเต็มศักยภาพใน ช่วงอายุนี้จะเป็นรากฐานที่ดีจะให้เขาเติบโตเป็นเยาวชนและพลเมืองที่ดี เฉลียว ฉลาด คิดเป็นทำเป็น และมีความสุขเด็กปฐมวัยจะมีชีวิตรอดและเติบโตได้ก็ ด้วย การพึ่งพาพ่อแม่และผู้ใหญ่ที่ช่วยเลี้ยงดู ปกป้องจากอันตราย หากผู้ใหญ่ให้ความรักเอาใจใส่ใกล้ชิดพร้อมที่จะพัฒนาให้เป็นคนเก่งและคนดีอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขและมีประโยชน์ 

     การจัดประสบการณ์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ให้เด็กได้รับ ประสบการณ์ตรงมากที่สุดสอดคล้องกับแนวคิดของจอห์นดิวอี้ (John Dewey) ที่ว่า เด็กเรียนรู้จากการกระทำ(Learning by doing) ซึ่งตรงกับเพียเจท์(Piaget) และบรูเนอร์(Bruner) ที่กล่าวถึง กระบวนพัฒนาการทางสติปัญญานั้นเกิดจากการเรียนรู้โดยการกระทำและการเรียนรู้จากการค้นพบด้วยตนเอง การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับ ปฐมวัยเป็นการตอบสนองและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในการเรียนรู้โดยธรรมชาติรอบตัว และพัฒนาทักษะทาง สติปัญญาต่างๆ เนื่องจากเด็กในระดับปฐมวัยมีธรรมชาติของการสืบเสาะหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์อยู่ในตนเอง การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อย่างเหมาะสม โดยมุ่งเน้นให้เด็กได้เรียนรู้และค้นพบด้วยตนเองมากที่สุดให้ได้ทั้ง กระบวนการเรียนรู้และองค์ความรู้ตั้งแต่ระดับปฐมวัย จะช่วยส่งเสริมศักยภาพของเด็กในการพัฒนาทักษะต่างๆ อย่าง มีประสิทธิภาพเพื่อเป็นพื้นฐานส าหรับการศึกษาในอนาคต

💚วัตถุประสงค์การวิจัย💚

 1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ด้านการสังเกตและการจำแนกประเภท เด็กก่อนและหลังจากการจัดกิจกรรมการทดลอง 

💚ขอบเขตการวิจัย💚

  1. ขอบเขตด้านประชากร  เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2-3 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นบริบาล 1/3 จำนวน 20คน

  2. ด้านตัวแปร

          ตัวแปรต้น คือ กิจกรรมการทดลอง 

          ตัวแปรตาม คือ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์คือ 

            - ทักษะการสังเกต 

            - ทักษะการจำแนกประเภท

3. ด้านเนื้อหา การวิจัยนี้ดำเนินการในหน่วยการเรียนรู้โดยเน้นทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย หน่วย สีสันสดใส, ผักผลไม้, ต้นไม้ที่รัก, อาหาร สาระที่ควรเรียนรู้เป็นสาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวและสิ่งต่างๆรอบตัว

💚เครื่องมือวิจัย💚 

   1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลอง จำนวน 12 แผน

   2. แบบประเมินทักษะวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นเครื่องมือวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง 

💚สรุปผลการวิจัย💚

      เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการจัดกิจกรรมการเสริมสร้างทักษะวิทยาศาสตร์โดยกิจกรรมการทดลอง และการติดตามผลจากการสังเกต ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 2 ทักษะ คือ การสังเกต และการจำแนกประเภท การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้านการสังเกตและการจำแนกประเภท โดยใช้กิจกรรมการ ทดลองชั้นบริบาลปีที่ 1/3 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ่อพลอย อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ได้ดำเนินการตาม ขั้นตอนสรุปผลได้ดังนี้  1. กอนใชแผนการจัดกิจกรรมการทดลอง เด็กปฐมวัยกลุมตัวอย่างมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ใน ระดับปานกลาง ทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะ หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการทดลอง เด็กปฐมวัยกลุ่ม ตัวอย่างมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับ มากที่สุด  2. หลังการใชแผนการจัดกิจกรรมการทดลอง เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนใช้ แผนการจัดกิจกรรมการทดลอง ทั้งโดยรวมและรายทักษะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น